วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562


สถานการณ์และแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้*

มานิตา  สองสี** ปาริชาติ เกตุแก้ว**

บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การใช้คอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียนของนักศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ร่วมกับศึกษาเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อเข้าร่วมสนทนากลุ่ม  จำนวน  10 กลุ่ม  หาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า  ลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียนส่วนใหญ่ คือ ใช้พิมพ์เอกสารและรายงานส่วนตัว ส่วนลักษณะการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่มีมากที่สุด  คือ การสืบค้นข้อมูล นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการใช้ โดยจำแนกได้เป็น 4 ด้านคือ 1) ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการ 2) ปัญหาด้านโปรแกรมและการใช้ภาษา 3) ปัญหาด้านทักษะการใช้งาน และ 4) ปัญหาด้านประสิทธิภาพของอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบ จากข้อค้นพบทั้งหมดนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียน โดยแยกประเด็นได้ ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และสื่อด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา 2) การพัฒนาความรู้และทักษะทั้งของนักศึกษาและผู้สอน และ 3) ข้อเสนอแนะการให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของวิทยาลัย   








Situation and Encouragement of Undergraduate Students to Use Computer after Class Hours: A Case Study of
Southern College of Technology Student*

Manita  Songsri** , Parichat  Ketkeaw**

Abstract

The research title is Analyze Situation and the strategy to motivate the use of computer for after school learning of the undergraduate student at Southern College of Technology.  The objective of this study  to understand the situation of students using computer after school hour and to analyze problems and obstructions to find the strategy to motivate the use of computer for after school learning among students. This is a quantitative research. The sample group is randomly selected in 400 numbers. In addition with the qualitative research Ten groups of samples with purposive sampling are selected to group  interview.  Proof of the accuracy of the tool by using the Index of Item-Objective Congruence (IOC). The research finds that the mostly use of computer in after school hours is to type papers and others documents. The use of Internet mostly is to searching for information Besides , there are problems in using computers which can be separated in four categories, there are  1) The difficulty in access to the computers. 2) Problem in understanding program and language barrier. 3) The limited of computer skills and 4) The quality of the computers themselves and expenses relevant in using computers. From the findings lead to the recommendation to motivate the use of computer for after school learning. The recommendations are 1) To support hardware, software and communication for the use of students. 2) To improve the knowledge and skill of both students and lecturers and 3) To suggest for computer and  internet services of the college.



* ได้รับทุนจากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
** สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
* This Study was granted by  Southern College of Technology
** School of Informatics, Southern College of Technology


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น