ธัชนิติ
วีระศิริวัฒน์ :
ผลของการพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย.
(THE EFFECT OF TRAINING PROGRAM DEVELOPMENT ON ANAEROBIC THRESHOLD IN MALE
TENNIS ATHLETES) อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : ผศ.ดร. เฉลิม ชัยวัชราภรณ์,
86 หน้า.
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าด้วยการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังเข้ารับการฝึก
โดยใช้โปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาเทนนิสชายในระดับมหาวิทยาลัย
จาก มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 12 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) โดยนักกีฬาเทนนิสต้องมีประสบการณ์ในการเล่น
ไม่ต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้ารับการฝึกแบบหนักสลับเบาแบ่งเป็น
2 ระยะ แต่ละระยะของโปรแกรมใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ทำการทดสอบจุดเริ่มล้าด้วยการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนก๊าซแบบวิธีวีสโลป
ทดสอบก่อนและหลังเข้ารับการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์
จุดเริ่มล้าแสดงค่าเป็นอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า
และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า “ที”
ผลการวิจัยพบว่า
อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 16.09% สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 102.01% สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 69.80%
สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าสามารถเพิ่มระดับจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย
|
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)

-
Thesis title: The Development of a Critical Thinking Test for Mathayom Suksa III Students in ...
-
วัตถุประสงค์ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการโรงเรียน โดยระ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น