วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562
โปรแกรมระบบงานปกครอง-รูดบัตร สามารถตอบสนองต่อระบบดูแล นักเรียน/นักศึกษา ได้เป็นอย่างดีเป็นฐานข้อมูลสถิติสนับสนุนการบริหารจัดการ เช่น
นร./นศ. วันนี้ มาสายกี่คน คิดเป็นกี่ %
นร./นศ. วันนี้ ขาดเรียนกี่คน คิดเป็นกี่ %
ครูที่ปรึกษาได้ติดตาม และรายงานสาเหตุของการขาดเรียนนักเรียนรายคนแล้วหรือไม่
คะแนนความประพฤติของ นร./นศ. ถูกหักไปแล้วกี่คะแนน เหลือกี่คะแนน ฯลฯ
ความน่าเชื่อถือ และการรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
วัตถุประสงค์
# #5278612639 : MAJOR SPORTS SCIENCE
KEYWORDS : ANAEROBIC THRESHOLD / THE ANAEROBIC THRESHOLD TRAINING PROGRAM/ MALE TENNIS ATHLETES
THATCHANIT WERASIRIWAT: THE EFFECT OF TRAINING PROGRAM DEVELOPMENT ON ANAEROBIC THRESHOLD IN MALE TENNIS ATHLETES.ADVISOR : ASST. PROF. CHALERM CHAIWATCHARAPORN,Ed.D, 86 pp.
The purpose of this research was to study the effect of training program development on anaerobic threshold (AnT) by comparing result before and after training in tennis athletes. The subjects were 12 male tennis athletes who had at least 5 years playing tennis experiences from Burapha University They were sampled by purposive random sampling. All subjects were trained with AnT training program. The AnT training program was interval exercise training and divided into 2 phases which performed 2 times a week for 3 weeks.The AnT was assessed by gas exchange analysis which based on V-slope method. The AnT showed results as heart rate and oxygen consumption at the AnT. The analyzed in term of means, standard deviation, percentage and t-test was used to determine the significant differences.
Research results indicated that the heart rate at the AnT was significant difference increased at the .05 level , there were increased 16.09 %. The oxygen consumption at the AnT was significant difference increase at the .05 level. there were increased 102.01%. The maximal oxygen at the Ant was significant difference increase at the .05 level, there were increased 69.80 %.
Conclusion the AnT training program can increase the AnT in male tennis athletes.
Thesis title: The
Development of a Critical Thinking Test for Mathayom Suksa III Students in
School under the Office of Chanthaburi Educational Service Area 2
School under the Office of Chanthaburi Educational Service Area 2
Researcher: Miss
Sarinee Kaisangkatee; ID: 2472500364;
Degree: Master of
Education (Educational Administration);
Thesis advisors: (1) Dr.Vandee Sangprateeptong, Associate Professor; (2) Dr. Ratchaneekool Pinyopanuwat, Associate Professor; Academic year: 2007
Abstract
The objectives of this study were
(1) to develop a critical thinking test for Mathayom Suksa III students in
schools under the Office of Chanthaburi
Educational Service Area 2; and (2) to verify the critical thinking test for Mathayom Suksa III students in
schools under the Office of Chanthaburi Educational Service Area 2.
The sample
consisted of 800 Mathayom Suksa III students in schools under the Office of Chanthaburi
Educational Service Area 2, obtained by multi-stage sampling. The employed
research instrument was a critical thinking
test comprising 48 items for Mattayom Suksa III students.
Content validity of the developed test was verified by the item-objective
congruency (IOC) index. Each item’ s difficulty level and discriminating power
were verified with the difficulty index and discriminating index. Its construct
validity was verified by confirmatory factor analysis (CFA). Its reliability
was verified by calculation of Kuder- Richardson 20 (K-R 20) formula.
Research findings were
as follows: (1) The developed a critical thinking test contained 48 items for
assessment of six factors each of which required 8 items. The six factors under
assessment were interpretation, analysis, evaluation, inference, explanation,
and self-regulation. (2) Content validity of the test as shown by the IOC index
ranged from .71 to 1.00. Its difficulty indices were in the range of .37 to .75
and its discriminating indices were in the range of .23 to .78 Its construct
validity was at the good level as shown by all six factors being significant at the .05 level
with the chi-square goodness of fit test
at 7.48; p = .35, df =7, GFI = 1.00, AGFI = .99 and CFI = 1.00.
Reliability indices of the test were as follow: .68 for
interpretation, .70 for analysis, .70 for evaluation, .74 for inference, .73
for explanation, .75 for self- regulation, and .94 for the whole test. As for
the test norm, the normalized T-scores were in the range of T12 to T74
Keywords: Test development, Critical thinking test, Mathayom Suksa
เด็กไทยไม่รู้หลักภาษาไทย
บทความ
เด็กไทยไม่รู้หลักภาษาไทย
คำผวน คำแปลกๆ ที่ไม่ถูกกาลเทศะ คำหยาบคาย หรือการนำภาษาต่างประเทศมาผสมกับภาษาไทยกลายเป็นคำแปลกที่ไม่มีความหมาย และผิดหลักเกณฑ์ แต่กลับคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้การใช้ภาษาไทยมีแต่วิบัติและไม่ถูกต้องมากขึ้น ทำให้การสื่อสารในสังคมไทยยิ่งขาดสติ ไม่รู้จักคิดรู้จักฟังให้มากขึ้น
นับเป็นความกังวลเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเรื่อง นอกเหนือจากที่เคยแสดงความห่วงใยกรณีที่ผลการวิจัยและผลสำรวจของหลายสถาบัน รวมไปถึงสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก ปีละไม่ถึง 10 บรรทัดด้วยซ้ำไป จนเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เด็กไทยไม่รู้ประวัติศาสตร์ พลอยทำให้ไม่มีความรักและความภูมิใจในความเป็นชาติและวัฒนธรรมของไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่าการแสดงความห่วงใยเรื่องการเขียนและการอ่านของเด็กไทยมักจะมีขึ้นเนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี จากนั้นไม่นานนัก ความห่วงใยก็จะค่อยๆ เงียบหายกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่ง จนขาดความต่อเนื่องที่จะสานต่อการรณรงค์ให้เด็กไทยมีความรู้และรักการอ่านมากขึ้น และมีแต่ตอกย้ำจุดอ่อนของสังคมไทยที่ขาดความใฝ่ใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งในตำราเรียนและนอกตำราเรียน จนทำให้รู้ผิดๆ ถูกๆ หรือรู้ๆ ครึ่งๆ กลางๆ อันอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ง่าย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการรู้แค่ครึ่งๆ กลางๆ ว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ แต่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในสรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้ ทำให้ไม่รู้ว่าตำรายาแผนโบราณ ห้ามกินสมุนไพรชนิดนี้ติดต่อกันเกิน 7 วัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ได้
เราเชื่อว่าโครงการรณรงค์ระยะยาว ไม่ใช่แค่การรณรงค์ให้เด็กไทยรู้จักการเขียน-อ่านและใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องตามหลักภาษาเท่านั้น แต่ต้องทำควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานราชการ ตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมกันเป็นแบบอย่างอันดีให้แก่เด็กไทย ดังที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ข้อคิดว่าจะต้องร่วมกันหาทางให้เกิดความสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์ภาษาให้คงไว้ กับวิวัฒนาการของภาษาให้คงความเป็นไทย ไม่ใช่เพียงแค่อนุรักษ์และส่งเสริมเด็กไทยให้สามารถเขียน-พูดได้อย่างถูกต้องเท่านั้น
ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย
บทความ ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย
สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว “ฎ” รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น “ฏ” ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น “ร” ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น “ฑ” ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น “ณ” และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น “ฐ” ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่ต้องเร่งแก้ไข เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับ
ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน
| |||
ภาษาไทย…อารยะมรดกภูมิปัญญาของชาติ
ภาษาไทย…อารยะมรดกภูมิปัญญาของชาติ
|
|
บทความ
เรื่อง " ภาษาไทย สื่อ หรือใคร ..เป็นผู้ทำลาย"
ในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในหลายๆด้าน ล้วนแล้วแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนหลายๆคนเกิดความวิตกกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสภาพสังคมในแทบทุกทวีปของโลก วัฒนธรรม และอีกหลากหลายสิ่งอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากการสื่อสารที่สามารถส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็วทันใจ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบนั้น ที่เห็นได้ชัดก็เป็นเรื่องทางวัฒนธรรมซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากมายจากทางฝั่งตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกาย ทรงผม เสื้อผ้า และภาษา เยาวชนไทยได้รับอิทธิพลเหล่านั้นมาอย่างเต็มที่ ซึ่งการแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกนั้น มาจากการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยและรวดเร็วของสื่อ เช่น โทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี อินเตอร์เน็ต ที่เยาวชนสามารถรับเอาตัวอย่างวัฒนธรรมเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ภาษาไทย สื่อ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ภาษาเป็นระบบการสื่อสารที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาในการติดต่อ บอกความประสงค์ ความรู้สึกนึกคิด ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้แก่กัน ภาษาไทยก็เป็นภาษาที่ใช้เป็นสื่อในการแสดงความรู้ ความคิด ประสบการณ์ และวัฒนธรรมของชาติซึ่งมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวและมีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาอื่น ปัจจุบัน การใช้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากทั้งในด้านที่เป็นความงอกงามของภาษาและในด้านที่ตรงข้ามซึ่งควรปรับปรุงแก้ไข กล่าวคือภาษาไทยมีคำใช้มากขึ้น เหมาะแก่ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ภาษาอย่างมักง่ายมีการตัดคำตามสะดวกและใช้คำผิดหน้าที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่เกิดมานานและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งมีผู้เพียรพยายามที่จะรักษาความถูกต้องเพื่อรักษามาตรฐานของภาษา จึงได้มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัย โรงเรียน สื่อมวลชนทุกแขนง รวมทั้งผู้สนใจอนุรักษ์ภาษาได้ดำเนินการแก้ไขการใช้ภาษาที่ผิดๆ ด้วยวิธีการอันหลากหลาย เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เช่น การกำหนดให้มีการสอบวิชาภาษาไทยในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวในฐานะผู้มีอาชีพในสาขาสื่อมวลชน ว่าปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนและสังคมไทยมีปัญหาในเรื่องของลักษณะนามในภาษาไทย เช่น “สามคนร้าย” “ห้าผู้ป่วย” การขาดทักษะในการย่อความเนื่องจากยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงไป การนำเสนอข้อมูลต่างๆ ต้องมีความกระชับและเข้าใจได้ง่ายในขอบเขตที่จำกัด เพียงหน้าเดียว นอกจากนี้ความรักในภาษาไทย คนไทยรุ่นใหม่ยังไม่เห็นความสวยงามของภาษาไทยทำให้ไม่เกิดความรักในภาษาไทย การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจึงไม่เกิดขึ้น นายจักรภพ กล่าวด้วยว่า อยากฝากเรื่องการโต้วาที และรายการทีวีประเภทโต้วาที ที่มีการพูดโต้กันด้วยการใช้คำพูดที่ผิดแปลกจากภาษา ไทยเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ชมแต่เป็นการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง ในหลายๆ เรื่อง อยากฝากให้สังคมไทยได้วิเคราะห์เพราะลักษณะการโต้วาทีเช่นนี้ ขณะนี้ได้สั่งสมไปถึงเด็กประถม และมัธยมศึกษาแล้ว รวมทั้งการกล่าวถึงสุนทรพจน์ต่างๆ นอกจากนี้ นายจักรภพ เพ็ญแข ยังกล่าวในฐานะผู้มีอาชีพสาขาสื่อมวลชน ติงสื่อมวลชนเองมีปัญหาในเรื่องลักษณะนาม และขาดทักษะในการย่อความ พร้อมระบุรายการประเภทโต้วาที คิดคำแปลกในการดึงความสนใจ แต่ทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการสั่งสมภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง ศ.ดร.สุจริต เพียรชอบ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย กล่าวว่า การสอนภาษาไทยให้กับเยาวชนและคนไทยต้องชี้แนะ แสดงให้เห็นถึงความงดงามของภาษาไทย เพื่อให้เกิดความรักในภาษาไทย ขณะที่ นายประยอม ซองทอง ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ภาษาไทยมีความสำคัญยิ่งต่ออาชีพ นักประชาสัมพันธ์เป็นหัวใจของทุกสาขาวิชา หากคนไทยยังเข้าใจภาษาไทยไม่ได้ดี การเรียนรู้ภาษาอื่น ก็คงจะไม่ดีด้วยและสำหรับนักประชาสัมพันธ์ การใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องหมายถึงหน้าตาขององค์กร ภาษาไทย ความห่วงใยและสิ่งหวงแหนของในหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปราย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ในงานวันกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ทรงเปิด อภิปรายในหัวข้อเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" และได้ทรงแสดงความห่วงใย การใช้ภาษาไทยดังความตอนหนึ่ง จากกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานในการทรงร่วมอภิปราย เรื่องปัญหาการใช้คำไทย ว่า "ภาษานั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาเป็นของเราเอง ซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเองแต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรง เขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้..." นอกจากนี้ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ซึ่งแสดงความห่วงใย ถึงการใช้ภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายจริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง เป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกัน เพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ" และในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคล ที่เข้าเฝ้าถวายฯ ชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังความตอนหนึ่งว่า "นอกจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ เสียงจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เสียงโทกลายเป็นเสียงตรี เสียงตรีกลายเป็นเสียงจัตวา เลยทำให้ฟังดูแปลก เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร..." ดังนั้น ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ของนายชวน หลีกภัย จึงเห็นชอบและมีมติให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามการเสนอของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ให้ตระหนักใน ความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ผู้แก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือทุกคนทั้งสังคม ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร นักวิชาการหลายกลุ่ม ได้พยายามหาทางออกในการแก้ปัญหาการใช้ภาษาของคนไทย การใช้ภาษาได้ดีต้องเกิดจากการฝึกที่มีประสิทธิภาพ ฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง ฝึกฟัง ฝึกเขียน ฝึกอ่าน ซึ่งสามารถฝึกได้โดยเริ่มตั้งแต่ในชั้นเรียน ปัญหาความสามารถในการใช้ภาษาไทยขณะนี้น้อยลงเมื่อเทียบกับแต่ก่อนในการศึกษาระดับเดียวกัน การที่ตำราภาษาไทยมีน้อยทำให้ขาดเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาไทย หลักสูตรการเรียนการสอนก็ไม่ให้ความสำคัญแก่วิชาภาษาและวรรณคดีไทย ก่อให้เกิดการขาดแคลนครูภาษาไทยที่มีสมรรถภาพ ขาดกิจกรรม และอุปกรณ์การสอน ขาดการกระตุ้นสมองให้ทำงานสร้างสรรค์ด้วยภาษาไทยนอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดความรู้ทางภาษาไทยด้วย แนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยของสื่อต่างๆ ซึ่งกำลังผจญกับปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ผู้อ่านข่าวและผู้ประกาศจะผ่านการฝึกอบรม และการคัดเลือกอย่างเคร่งครัด แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้างตามประสาของธุรกิจ ซึ่งบางครั้งได้คัดเลือกหน้าสวย เสียงเพราะไว้ก่อน ส่วนความสามารถและความรู้ทางภาษาไทยเป็นอันดับหลัง ผู้อ่านข่าว โฆษก และผู้ประกาศจะต้องเป็นผู้อ่านหนังสือแตก อ่านรวดเร็ว หลายครั้งต้องใช้ปฏิภาณเชาวน์ไหวพริบประกอบด้วย โดยเฉพาะเมื่อผู้พิมพ์ต้นฉบับเกิดพลาดพลั้งตกหล่น ผู้อ่านข่าวจะอ่านคำตกหล่นคำผิดให้เป็นคำถูกได้ทันที นอกจากนี้ ความรู้ทางภาษาไทยที่ผิวเผินจะก่อให้เกิดความพลาดพลั้งบ่อยครั้ง เมื่อผิดแล้วแก้เองไม่เป็น หนังสือแปลภาษาไทยในท้องตลาดปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่ใช้ภาษาแปลแบบไม่รู้หลักภาษาไทย จะเป็นไทยก็ไม่ใช่ เป็นฝรั่งก็ไม่เชิง อ่านไม่รู้เรื่อง อาศัยที่หนังสือต้นฉบับเป็นหนังสือดีมากดังมาก ผู้ซื้ออยากรู้จักหนังสือนั้น จึงสู้อุตส่าห์ซื้อหนังสือแปลที่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องมาช่วยแปลไทยเป็นไทยอีกทีหนึ่ง ซึ่งสมาคมนักแปลและล่ามกำลังหาทางช่วยเหลือนักแปลผู้อับจนภาษาไทยอยู่ ส่วนนักแปลเองก็ต้องช่วยตัวเองมากๆ เรื่องความรู้ศัพท์ ไม่ควร “คิดว่าภาษาไทยมีคำใช้น้อย” ปัญหาสุดท้ายของการใช้ภาษาไทยที่ ศาสตราจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืน หยิบยกมาคือ ปัญหาการขาดความรู้อื่น ซึ่งก็หมายรวมถึงความรู้รอบตัวด้วย เช่น การขาดความรู้เกี่ยวกับชื่อที่คล้ายกัน เช่น งูเหลือม-งูหลาม ,ปลาตีน-ปลาจุม พรวด, กบ-เขียด-ปาด สรุปแนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยจากกลุ่มต่างๆ ที่ผู้เขียนได้ค้นคว้ามา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ : แนวทางแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย แนวทางแก้ปัญหาอันดับแรกที่ผู้เขียนมองเห็นว่าสำคัญที่สุดคือครูอาจารย์ ควรเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา มีความรู้แน่นแม่นยำ เป็นตัวของตัวเอง ปรับประยุกต์การใช้ภาษาไทย รักภาษาไทย และทำให้ผู้เรียนรักภาษาไทยได้ ส่วนกระบวนการเรียนการสอนนั้น ควรควบคู่ภาษาและวรรณคดี ส่งเสริมการอ่าน ในเรื่องสื่อการสอน ควรมีการปฏิรูปให้ทันยุคสมัย บูรณาการภาษากับเนื้อหา มีศิลปะในการนำเสนอเพื่อจูงใจผู้เรียน ราคาไม่แพง องค์กรที่เกี่ยวข้องได้แก่สื่อมวลชน ราชบัณฑิตยสถาน สมาคมครูภาษาไทย และองค์กรส่วนท้องถิ่นควรจัดกิจกรรม หรือดำเนินการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง กลุ่มที่ ๒ : แนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ผู้เขียนได้ศึกษาจากตำราที่นักวิชาการได้มองเห็นปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ผิดเพี้ยนไปอีกอย่างหนึ่งคือ การพูดภาษาไทยสลับภาษาอังกฤษ การใช้โครงสร้างภาษาอังกฤษ เรียบเรียงประโยคภาษาไทย การบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ จากภาษาอังกฤษไม่ทันกับความเจริญทางเทคโนโลยี วิธีแก้ไขปัญหาก็คือทุกคนควรช่วยกัน ทั้งคนในครอบครัว ครูอาจารย์ สื่อมวลชน ผู้รู้ ช่วยเขียนหรือแปลบทความเผยแพร่ความรู้ ผู้อ่าน ผู้ฟังช่วยแสดงความคิดเห็น และปรับปรุงการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ กลุ่มที่ ๓ : แนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยของสื่อต่างๆ ในกลุ่มนี้ผู้เขียนได้ศึกษาพบว่า มีดารา ข่าวทีวี และวิทยุมากหน้าหลายตา เก็บปัญหามาเสนอเรื่องคำใหม่ที่เกิดใหม่ ซึ่งการหาข้อยุติไม่ทันการ ผู้ประกาศออกเสียงเพี้ยนทั้งสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การใช้ภาษาไทยในข่าวเป็นภาษาแปร่งเพราะแปลจากภาษาต่างประเทศด้วยความรวดเร็วมาก และผู้ที่รู้ภาษาไทยมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะช่วยตรวจแก้ ค่านิยมทางธุรกิจบีบรัดให้การคัดเลือกผู้อ่านข่าว โฆษก ผู้ประกาศ หันเหไปจากหลักการและมาตรฐาน บางครั้งสื่อขาดจิตสำนึกความเป็นเลิศในวิชาชีพ สื่อขาดที่พึ่งที่ปรึกษาเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย แนวทางแก้ไขเน้นไปที่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกคนให้พัฒนาตนเอง และระมัดระวังในการใช้ภาษา สื่อกับสื่อควรแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด ให้ความร่วมมือกัน เตือนกันเมื่อพบความผิดพลาดไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการใช้ราชาศัพท์ และสื่อควรศึกษาภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่อธำรงไว้ ซึ่งคุณค่าแห่งความเป็นไทย ดังที่ ลาสเวลล์ , ชาร์ลส์ ไรต์ และแม็คเควล ได้กล่าวเอาไว้มาหลายยุคหลายสมัย ถึงหน้าที่หลักของสื่อมวลชนต่อสังคมคือ ต้องสอดส่องดูแลระวังระไวสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม ประสานเชื่อมโยงส่วนต่างๆของสังคมหรือสมาชิกในสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ่ายทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรมจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง ให้ความบันเทิงเพื่อจรรโลงใจสังคมให้มีความสุนทรีย์ ความบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลทางจิตใจจากภาวะกดดันจากสิ่งแวดล้อมในสังคม และรณรงค์ให้เกิดความเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคม แล้ววันนี้..... ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะใด..... คุณก็คือส่วนหนึ่ง... ที่จะทำให้ “ภาษาไทย” คงอยู่คู่กับประเทศไทย ตลอดไป
ผู้บริหารแพลนเน็ต
ผลการใช้
Game-Based
Learning ในการบูรณาการกับการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาที่มีเจตคติด้านบวกต่อการเล่นเกม
The Effects of Integrating Game-Based
Learning in Teaching English Reading Skill of Undergraduate Students with
Positive Attitude Towards
Games
Kalaya Boonsirijarungradh
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มควบคุมก่อนและหลังการสอนด้วยแผนการสอนแบบปกติทั่วไปและกลุ่มทดลองก่อนและหลังการสอนด้วยแผนการสอนที่มีการบูรณาการเกมคอมพิวเตอร์แบบ
MMORPG กับเนื้อหา
และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระหว่างนักศึกษาทั้งสองกลุ่มหลังได้รับการสอน
รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองซึ่งก่อนและหลังการสอน
โดยนักศึกษากลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาที่มีเจตคติทางบวกต่อการเล่นเกม ข้อมูลที่ได้มาถูกวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt-test ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษากลุ่มทดลองมีการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการสอนสูงขึ้นกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม
และนักศึกษากลุ่มทดลองมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นหลังจากได้รับการสอนด้วยแผนการสอนที่มีการบูรณาการ
Game-based learning
คำสำคัญ: การบูรณาเกมคอมพิวเตอร์กับการเรียนภาษา
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
Abstract
The
purposes of this study were to study the students’ English reading ability of
the control group before and after being taught with general activities and
that of the experimental group, whose attitudes towards computer games were
positive, before and after being taught with the learning integrated with
Game-based learning (MMORPG type), and to compare the English reading ability
between the two groups after being taught with the activities. It also aimed to
compare the students’ motivation in English learning before and after being
taught with the integrated activities. The data obtained were analyzed by using
mean, standard deviation and t-test. The findings revealed that there was more
development of the English reading ability of the experimental group than that
of the control group, and the motivation in English learning was positively
higher after being taught with the integrated activities.
Keywords: Game-based learning, English reading
skill
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Associate Professor, Division of English,
Department of Western Languages, Faculty of Humanities, Chiang Mai University
สถานการณ์และแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การใช้คอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียนของนักศึกษา
วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค
เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษา
เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ร่วมกับศึกษาเชิงคุณภาพ
โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อเข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 กลุ่ม หาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียนส่วนใหญ่
คือ ใช้พิมพ์เอกสารและรายงานส่วนตัว
ส่วนลักษณะการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่มีมากที่สุด
คือ การสืบค้นข้อมูล นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการใช้ โดยจำแนกได้เป็น 4
ด้านคือ 1) ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการ 2) ปัญหาด้านโปรแกรมและการใช้ภาษา 3)
ปัญหาด้านทักษะการใช้งาน และ 4)
ปัญหาด้านประสิทธิภาพของอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบ
จากข้อค้นพบทั้งหมดนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียน
โดยแยกประเด็นได้ ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และสื่อด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา
2) การพัฒนาความรู้และทักษะทั้งของนักศึกษาและผู้สอน และ 3)
ข้อเสนอแนะการให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของวิทยาลัย
Situation and Encouragement of Undergraduate Students
to Use Computer after Class Hours: A Case Study of
Abstract
The research title is Analyze Situation and the strategy to motivate the
use of computer for after school learning of the undergraduate student at
Southern College of Technology. The
objective of this study to understand
the situation of students using computer after school hour and to analyze
problems and obstructions to find the strategy to motivate the use of computer
for after school learning among students. This is a quantitative research. The
sample group is randomly selected in 400 numbers. In addition with the
qualitative research Ten groups of samples with purposive sampling are selected to
group interview. Proof of the accuracy of the tool by using the
Index of Item-Objective
Congruence (IOC). The research finds that the
mostly use of computer in after school hours is to type papers and others
documents. The use of Internet mostly is to searching for information Besides ,
there are problems in using computers which can be separated in four
categories, there are 1) The difficulty
in access to the computers. 2) Problem in understanding program and language barrier. 3) The limited of
computer skills and 4) The quality of the computers themselves and expenses
relevant in using computers. From the findings lead to the recommendation to
motivate the use of computer for after school learning. The recommendations are
1) To support
hardware, software and communication for the use of students. 2) To improve the
knowledge and skill of both students and lecturers and 3) To suggest
for computer and internet services of
the college.
ชื่องานวิจัย ฐานคติเรื่องเพศวิถีในนโยบายเรื่องโรคเอดส์ของรัฐไทย
ผู้วิจัย ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
แหล่งทุน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ปีที่พิมพ์ 2547
บทคัดย่อ
แบบแผนการระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยที่การแพร่กระจายของโรคเป็นไปโดยผ่านการร่วมเพศ/มีเพศสัมพันธ์ ทำให้แนวนโยบายเอดส์เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องเพศของคนในสังคม
มาตรการหลักที่กระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องของการพยายามทำให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบเรื่องเพศ
พฤติกรรมและวิถีทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสมซึ่งจำกัดอยู่ในความสัมพันธ์ชายหญิงในสถาบันการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียวถูกมองว่าเป็นรูปแบบสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ
แม้ว่าการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์จะทำให้คนในสังคมตระหนักและหวาดกลัวภัยอันตรายของโรคเอดส์
และมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกจัดว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
แต่รูปแบบของเรื่องเพศนอกสถาบันการแต่งงานก็ยังคงอยู่และได้มีการเปลี่ยนลักษณะไป
กลุ่มคนที่ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงก็เปลี่ยนไปด้วย
นโยบายเอดส์ของรัฐไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองเรื่องเพศที่สะท้อนความหลากหลายและไม่เท่าเทียมกัน
และกระทบกับความสามารถของคนในการควบคุมหรือเลือกวิถีทางเพศของตน
รวมทั้งการป้องกันตนเองจากรูปแบบเรื่องเพศที่ไม่ต้องการหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ในขณะเดียวกันประเด็นเอดส์ก็ได้เป็นเวทีสำหรับการโต้เถียงต่อรองเรื่องเพศของคนเหลายกลุ่มไปด้วยพร้อมกัน
มิติเรื่องเพศของเอดส์ทำให้ได้มีการไตร่ตรอง การวิพากษ์ และการเสนอแนวทางที่
นโยบายเรื่องเอดส์จึงน่าจะสะท้อนและเป็นเวทีของการต่อรองของกรอบที่หลากหลาย
ยืดหยุ่นต่อความแตกต่างและเปิดต่อความเห็นและวิถีที่ขัดแย้ง
รวมทั้งการใคร่ครวญถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคมเพื่อจัดการกับความอยุติธรรมที่สะท้อนในแบบแผนการระบาดของเอดส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)

-
Thesis title: The Development of a Critical Thinking Test for Mathayom Suksa III Students in ...
-
วัตถุประสงค์ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการโรงเรียน โดยระ...